ประวัติ  วัดโบสถ์  หลวงปู่เทียน จังหวัด ปทุมธานี 

สำหรับประวัติความเป็นมาของวัดโบสถ์  ไม่สามารถบอกได้ว่าผู้ใดที่เป็นผู้สร้างวัดแห่งนี้ขึ้นมาซึ่งได้มีแต่การสันนิษฐานเอาไว้ว่าผู้ที่มาสร้างวัดโบสถ์แห่งนี้เอาไว้ก็คือชาวบ้าน

ซึ่งเป็นชาวรามัญที่อพยพเดินทางมาจากหงสาวดีเพื่อย้ายมาอยู่ที่เมืองไทยโดยมาอยู่ที่บ้านสามโคกหลังจากนั้นก็เริ่มได้ก่อสร้างที่อยู่อาศัยและเป็นกลุ่มแรกที่มีการสร้างวัดโบสถ์ขึ้นมาซึ่งเป็นเพียงแค่ข้อสันนิษฐานเท่านั้น

เนื่องจากว่ามีหลักฐานที่สามารถอ้างอิงได้ว่าวัดโบสถ์แห่งนี้มีความเกี่ยวพันกับชาวรามัญที่เดินทางมาจากหงสาวดีเพราะสิ่งที่ก่อสร้างภายในวัดส่วนใหญ่นั้นจะมีการทำสัญลักษณ์เกี่ยวกับหงสาวดีเอาไว้ยกตัวอย่างเช่นเสาหงส์ 

โดยด้านบนของยอดเสานั้นจะมีการสร้างรูปช้าง 4 เศียรและบุษบงโดยของที่ก่อสร้างทั้งหมดนั้นจะทำด้วยทองสัมฤทธิ์    ชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นการทำสัญลักษณ์ของชาวรามัญ ที่ทำตอนสร้างวัดโบสถ์แห่งนี้นั่นเอง

ที่สำคัญวัดแห่งนี้มีประวัติว่าสร้างขึ้นมาในช่วงประมาณ ปี พ.ศ 2164   ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าในช่วงเวลานั้นมีการอพยพของชาวเมืองหงสาวดีเดินทางเข้ามาไทย 

 

ซึ่งเป็นในช่วงของยุคสงคราม  อีกด้วย  นอกจากนี้ภายในพื้นที่บริเวณนั้นนั้นยังมีสิ่งก่อสร้างอีกเยอะแยะมากมายที่บ่งบอกถึงตัวตนของชาวมอญ ว่าพื้นเพเคยเป็นชาวหงสาวดีย้ายมาเพราะผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีอายุมากกว่า 90 ปีขึ้นไปจะพูดภาษามันได้อย่างชัดเจน 

อย่างไรก็ตามสำหรับประวัติความเป็นมาของวัดโบสถ์นั้นว่ากันว่าแต่เดิมหลังจากที่มีการสร้างวัดเสร็จในครั้งแรกนั้นชาวบ้านไม่ได้มีการตั้งชื่อว่าวัดโบสถ์แต่ตั้งชื่อว่าวัดสร้อยนางหงส์   โดยสาเหตุที่เลือกที่จะตั้งชื่อว่าวัดสร้อยนางหงส์นั่นก็เพราะว่าคนที่มาสร้างวัดส่วนใหญ่นั้นมาจากหงสาวดีจึงได้เอาชื่อบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง

ที่เคยอยู่อาศัยมาสร้างเป็นชื่อวัด  เพื่อเป็นตัวแทนของเมืองหงสาวดีที่ชาวมอญได้อพยพหนีมาก่อนที่ภายหลังจะมีการเปลี่ยนชื่อจากวัดสร้อยนางหงส์มาเป็นวัดโบสถ์เหมือนอย่างปัจจุบันนี้นั่นเอง 

สำหรับสิ่งต่างๆที่อยู่ภายในวัดอย่างเช่นหลวงพ่อรามัญทรงเครื่องซึ่งประดิษฐานอยู่ในพระวิหารของวัดโบสถ์เป็นหลวงพ่อเก่าแก่ที่ผู้คนให้ความเคารพนับถือ

  ซึ่งหลวงพ่อรามัญนี้ก็มีอายุเก่าแก่มากกว่า 150 ปีเช่นเดียวกันนอกจากนี้ยังมีรูปปั้นอีกเยอะแยะมากมายภายในวัดที่มีความเก่าแก่และโบราณอย่างเช่นรูปปั้นสุนัขย่าเหล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้กับอดีตเจ้าอาวาสของวัดโบสถ์ในสมัยที่พระองค์นั้นเสด็จประพาสมาที่เมืองสามโคกแห่งนี้นั่นเอง

 

สนับสนุนโดย    ufabet