ประวัติของพระธาตุกู่จาน

พระธาตุกู่จาน ตั้งอยู่ในจังหวัดยโสธร ได้ถูกสร้างขั้นพร้อมๆกับพระธาตุพระพนม ลักษณะขององค์พระธาตุ จะมีลักษณะเป็นเจดีย์คล้ายบัวเหลี่ยมเหมือนพระธาตุพระพนม ก่อสร้างด้วยอิฐและมีกำแพงแก้วล้อมรอบถึงสองชั้น และในวันขึ้น14ค่ำเดือน3 จนถึงวันแรม3ค่ำเดือน3 ของทุกปี จะมีการจัดงานนมัสการพระธาตุกู่จาน ที่เป็นที่สักการะของคนในจังหวัดยโสธรและประชาชนชาวภาคอีสาน ขึ้นทุกปี

ประวัติของพระธาตุกู่จาน

หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพานไปแล้วนั้น ได้มีการแจกจ่าย พระบรมสารีริกธาตุ ในบริเวณดินแดนนี้และได้มีพระยาคำแดงซึ่งเป็นเจ้าเมืองฝ่ายเหนือได้รับพระบรมสารีริกธาตุนี้ไป แต่ทางพระยาฝ่ายใต้ไม่ได้รับจึงมาของแบ่ง แต่ทางพระยาฝ่ายเหนือไม่อยากให้จึงบ่ายเบี่ยงทุกทาง แต่ก็ไม่สำเร็จจึงเกิดให้มีการแข่งขันให้สร้างพระธาตุกันขึ้นมา โดยมีกติกาว่าใครจะสร้างพระธาตุเสร็จก่อนถึงจะได้ พระบรมสารีริกธาตุไปครอง แต่ให้ใช้ผู้สร้างได้ฝ่ายละ 6คน และพระยาทางฝ่ายใต้ได้รับคำและกลับไปปรึกษาทหารคนสนิท และได้จัดคนขึ้นมาทำการก่อสร้างทั้ง6คน และห้ามผู้ใดเขามาขัดขว้าง และได้ทำการก่อสร้างไปได้ครึ่งทาง ทางพระยาฝ่ายใต้ ก็กลัวพระยาฝ่ายเหนือผิดสัญญา จึงได้นำคนไปชิงพระบรมสารีริกธาตุมาเป็นของตน

และการเข้าไปชิงพระบรมสารีรกธาตุนั้นไม่อาจสำเร็จไปได้ เพราะทางฝ่ายเหนือนั้นมีการคุ้มกันที่แน่นหนา และทำให้ฝ่ายใต้ได้เสียคนสนิทไปคนหนึ่ง เมื่อฝ่ายใต้สู้ไม่ไหวจึงยกทัพกลับและได้รวบรวมผู้ที่มีวิชา ยิง ฟันไม่เข้านับหมื่นคนไปตีเมืองฝ่ายเหนืออีกครั้ง และก็แพ้กลับมาผู้คนที่นำไปตายหมดรอด ชีวิตมาเพียง5คน และยังไม่ยอมจึงยกทัพไปใหม่โดยกราแบ่งการนำทัพเป็น5กอง

ส่วนพระยาฝ่ายใต้นั้นจะเข้าไปทางด้านหลังให้หัวหน้าเมืองทั้ง4 ยกตีทางหน้าเมือง ทางฝ่ายเหนือมั่วแต่ยกทัพไปตีแต่ทางหน้าเมือง โดยไม่ได้ระวังทางหลังเมืองพระยาทางฝายใต้จึงได้พระบรมสารีริกธาตุไปถึง6ผอบ และได้นำพระบรมสารีริกธาตุใส่ไว้ในเจดีย์ที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยคนเพียง6คน ชาวบ้านจึงไม่พอใจ และทางพระยาฝ่ายใต้จึงจัดการให้มีการสร้างเป็นพระวิหารขึ้นมาใหม่ โดยให้ชาวบ้านนำหินที่มาจากทะเลช่วยกันนำมาทำการก่อสร้าง ฝ่ายทางพระยาฝ่ายเหนือแค้นใจที่ถูกชิงพระบรมสารีริกธาตุมาได้นั้น

จึงยกทัพมาชิงคืน ทางฝ่ายใต้ไม่ได้ระวังตัวจึงทำให้เกิด การเสียชีวิตของพระยาหัวเมืองทางฝ่ายใต้และเพื่อนๆหมดทั้ง5คน และศพถูกฝั่งไว้กับข้างพระธาตุกู่จานในปัจจุบัน และประชาชนจึงเกิดการเสียขวัญและได้หนีออกจากเมืองทิ้งให้พระธาตุกู่จานตั้งอยู่ในป่าทิ้งร้างไว้อย่างนั้น

พระธาตุทางฝ่ายเหนือคือพระธาตุพนมในปัจจุบัน และพระธาตุทางฝ่ายได้คือพระธาตุกู่จานในปัจจุบันเช่นกัน