ประเพณีการกวนข้าวทิพย์

ประเพณีการกวนข้าวทิพย์ที่มีมาแต่โบราณเป็นอย่างไร                       

               หากพูดถึงข้าวทิพย์คนหลายอาจจะไม่รู้จักกันแล้ว ยิ่งเป็นคนกรุงเทพ ยิ่งไม่รู้จักประเพณีการกวนข้าวทิพย์ตอนนี้จะมีการจัดขึ้นเฉพาะบางจังหวัดและบางพื้นที่เท่านั้นเพราะเป็นประเพณีที่มีมานานจนผู้คนเริ่มลืมเลือนกันแล้ว  เราจะพบเห็นการกวนข้าวทิพย์เฉพาะตามต่างจังหวัดเท่านั้น ซึ่งประเพณีนี้มีการทำต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพื่อต้องการให้คนในหมู่บ้านมารวมตัวกันและช่วยเหลือกันเป็นน้ำหนึ่งน้ำใจเดียวกัน

โดยปัจจุบันประเพณีกวนข้าวทิพย์จะมีการจัดขึ้นทุกปีในช่วงประมาณกลางเดือนพฤษภาคม โดยชาวบ้านต่างก็จะกันมารวมตัวที่วัดเพื่อช่วยกันกวนข้าวทิพย์ ซึ่งแต่ละคนก็จะนำสิ่งของมาเพื่อรวมผสมกับการกวนข้าวทิพย์ตามแต่กำลังศรัทธาของตัวเอง ตามแต่งบประมาณของตัวเองที่พอจะทำได้

บางคนเตรียมน้ำตาลมา บางคนเตรียมข้าวตอกมา  บางคนเตรียมขนมปังมา หรือบางคนก็เตรียมนมกระป๋องมาซึ่งของทุกอย่างที่ชาวบ้านนำมาจะถูกนำมาเทรวมกันในกระทะแล้วทำการกวนของทุกอย่างให้เข้ากัน จึงออกมาเป็นข้าวทิพย์ ซึ่งเมื่อมีการกวนเสร็จแล้วก็จะมีการจัดการแบ่งกันเพื่อนำกลับไปกินที่บ้านและนำกลับมาใส่บาตรให้พระสงฆ์ในวันรุ่งขึ้น

สำหรับประเพณีนี้มีการเล่าต่อกันมาว่าตั้งแต่สมัยก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ มีหญิงสาวคนหนึ่งซื่อว่านางสุชาดา ได้นำขนมข้าวทิพย์นี้มาถวายแด่พระพุทธเจ้า และหลังจากนั้นไม่นาน เพราะพุทธเจ้าก็ทรงตรัสรู้ ซึ่งหลังจากนั้นผู้คนต่างก็พากันเตรียมข้าวทิพย์เพื่อนำมาถวายแด่พระสงฆ์เป็นประจำทุกปี จนยึดถือว่าเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ทำสืบทอดต่อๆกันมาจากรุ่นสู่รุ่น

              สำหรับประเพณีกวนข้าวทิพย์ที่จัดทำขึ้นมานี้ก็เพื่อหวังให้ชาวบ้านมีความรักและความสามัคคีกันคอยช่วยเหลือกัน เพราะในสมัยโบราณหมู่บ้านแต่ละที่จะมีผู้คนอยู่รวมกันไม่ค่อยมากและบ้านเรือนแต่ละหลังก็มักจะปลูกห่างกัน จึงทำให้บางาครั้งผู้คนก็จะไม่ค่อยได้พบเจอหน้ากัน ดังนั้นเมื่อมีประเพณีนี้เกิดขึ้นมา

มาถึงวันที่ต้องกวนข้าวทิพย์ชาวบ้านทุกหลังคาเรือนต่างก็พร้อมใจกันเดินทางมาที่วัดและได้มีโอกาสที่จะได้ทำความรู้จักพูดคุยกัน นับได้ว่าเป็นประเพณีที่ดียิ่งของไทย แต่ในปัจจุบันสังคมมีลักษณะเปลี่ยนไปคนรุ่นใหม่มักจะไม่ค่อยมีเวลาไปทำบุญที่วัดประเพณีนี้จึงค่อยๆหายไปตามกาลเวลา แต่ก็ยังมีบางหมู่บ้านที่ยังจัดงานขึ้นแต่คนส่วนใหญ่ที่ไปร่วมงานก็มักจะเป็นคนสูงอายุ ซึ่งหากยังเป็นแบบนี้ต่อไปประเพณีกวนข้าวทิพย์คงสูญสิ้นแน่นอน